การบูชาพระแม่ลักษมีช่วยเรื่องอะไร?

พระแม่ลักษมีนั้น เป็นเทพที่ประทานพรรอบด้าน ทั้งด้านความรัก ความสำเร็จ ความอุดมสมบูรณ์ในชีวิต อีกทั้งยังประทานความมั่งคั่ง ร่ำรวยมาสู่ผู้บูชาอีกด้วย 

  • บันดาลให้พบรักแท้ รักที่บริสุทธิ์

  • นำพาให้เจอเนื้อคู่ คู่ชีวิต

  • ชีวิตคู่ยืนยาวและมั่นคง

  • เสริมเสน่ห์ทั้งวาจาและกริยา เป็นที่รักของทุกคน  

  • นำพาความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่งร่ำรวยมาสู่ชีวิต

  • ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา 

ใครเหมาะบูชาพระแม่ลักษมี?

  • คนโสดที่อยากมีคู่ อยากเจอความรักที่ดี

  • คนมีแฟน มีครอบครัว ขอให้ชีวิตรักราบรื่นมีความสุข

  • นักธุรกิจ เจ้าของกิจการ อาชีพค้าขาย

  • คนที่ต้องเสริมด้านการเงิน โชคลาภ ความสำเร็จ

พระแม่ลักษมี จาก KARAVA

บทสวดบูชาพระแม่ลักษมี

ข้อควรจำ : ก่อนการสวดบูชาพรแม่ลักษมี ควรสวดบทบูชาพระพิฆเนศก่อนเสมอ เนื่องจากชาวฮินดูมักจะบูชาพระพิฆเนศและพระแม่ลักษมีไปพร้อม ๆ กัน 

บทสวดพระพิฆเนศ โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา (๓ จบ)

โอม ชยะ ศรี ลักษมี มาตา (3 จบ)

โอม ศรี ลักษะมิไย นะมะห์ (3 จบ)

โอม มหาลักษะ มิไย นะโม นะมะห์

โอม วิษณุ ปรียาไย นะโม นะมะห์

โอม ธะนะ ประทาไย นะโม นะมะห์

โอม วิศวา จะนันไย นะโม นะมะห์

ยา เทวี สะระวะ ภูเตชุลักษมี รูเปนะ สัม สะถิตานะมัส ตัสไย

นะมัส ตัสไย นะมัส ตัสไย นะโม นะมะห์


บทสวดขอพรพระแม่ลักษมี (แบบย่อ)  

โอม ชยะ ศรี ลักษมี มาตา (3 จบ)

โอม ศรี ลักษะมิไย นะมะห์ (3 จบ)


ของประกอบพิธี 

  1. ดอกบัวสีชมพู (หรือดอกไม้อื่น ๆ โทนสีแดงหรือชมพู) 

  2. น้ำเปล่า

  3. นม

  4. ผลไม้ 5 อย่าง

  5. กำยาน เครื่องหอมต่าง ๆ 


** ห้ามถวายอาหารที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์โดยเด็ดขาด ** 


ฤกษ์และวันสำคัญในการไหว้

สามารถสวดบูชาพระแม่บักษมีได้ทุกวัน และสามารถขอพรได้อย่างไม่จำกัด โดยวันมงคลที่เหมาะแก่การบูชาพระแม่ลักษมีที่สุด คือ วันศุกร์ และในฤกษ์วันสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระแม่ลักษมี 


  1. วันวาราลักษมี วรัทตัม

ตรงกับวันข้างขึ้นของเดือนศรวณะตามปฏิทินฮินดู มักจะตรงกับวันศุกร์ก่อนจะถึงวันเพ็ญเดือนศรวณะ ประมาณช่วงเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม เป็นวันที่เหมาะกับการบูชาในเรื่องความรักโดยเฉพาะ

  1. วันสีดา นวมี

ทุก ๆ วันขึ้น 9 ค่ำ เดือนอัษฐะ หรือเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม เป็นวันที่มีพิธีบูชาพระแม่ลักษมีที่อวตารเป็นนางสีดา 

  1. วันดีปาวลี หรือพิธีแห่งแสงสว่าง 

ทุกวันแรม 14 ค่ำ เดือนการติก หรือเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน เป็นช่วงที่พระแม่ลักษมีจะทรงประทานความมั่งคั่งร่ำรวย  จึงเหมาะกับการบูชาในเรื่องการเงิน 



การตั้งพระแม่ลักษมีไว้บูชาที่บ้าน

  • ก่อนนำพระแม่ลักษมีเข้ามาประดิษฐาน จะต้องทำความสะอาดห้องให้สะอาดก่อนเสมอ สามารถตั้งท่านไว้ที่ห้องนั่งเล่น ห้องทำงาน หรือห้องพระส่วนตัวได้ (ควรแยกกับหิ้งพระ) แต่ห้ามวางบริเวณพื้นที่ใกล้ห้องน้ำ

  • ตามหลักวัสตุอินเดีย ให้วางเทวรูปพระแม่ลักษมีให้หันไปทาง “อีสานทิศ” หรือ “ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ” เป็นหลัก โดยจะไม่วางเหมือนกับทางหลักฮวงจุ้ยจีน หรือไทย เพราะเทพฮินดูจะมีทิศของท่านเป็นหลักแต่พระองค์แตกต่างกันไป ซึ่งทิศตะวันเฉียงเหนือของพระแม่ลักษมี หมายถึงที่พำนักของท่าน หรือวิษณุโลก ทิศนี้จะเปรียบดั่งน้ำและผืนทะเล รวมถึงเป็นทิศของความมั่งคั่ง ร่ำรวย อุดมสมบูรณ์

  • การจัดวางแท่นพิธี อาจจะต้องมีหินโรสควอตซ์สีชมพู หินทับทิมสีแดง หรือหินซิทริน เข้ามาเสริมพลังและความสมปรารถนา เนื่องจากพระแม่ทรงโปรดปรานของที่เป็นสีแดง สีชมพู และสีทอง รวมถึงสิ่งที่ควรมีก็คือเครื่องประดับ เครื่องสำอาง และเงินทอง 

  • บริวารของพระแม่ ได้แก่ รูปปั้นนกฮูก ช้าง ม้า และวัว รวมถึงพญาครุฑ พร้อมพญานาคา โดยเลือกมาเพียง 1 ชนิด

  • เนื่องจากพระแม่ลักษมีศักดิ์เป็นพระปิตุจฉา (ป้า) ของพระพิฆเนศ จึงนิยมบูชาคู่กันเพื่อความสิริมงคล โดยการจัดวาง “พระแม่ลักษมี” คู่กับ “พระพิฆเนศ” เรียกว่า “ลักษมีคณปติ” เป็นชื่อเรียก ของปาง 1 ใน 32 ปางของพระคเณศ แต่ที่นิยมเรียกการจัดวางคู่กันอีกชื่อนั้น จะเรียกว่า "ลักษมีคเณศ" โดยในการจัดวางนั้นให้วาง “พระพิฆเนศ” ไว้ทางซ้ายมือของ “พระแม่ลักษมี” เสมอ

 

**เป็นความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณ

July 14, 2025 — Marketing Team